ปัจจุบันการทําการเกษตรของประเทศไทย มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกําจัดศัตรูพืช จํานวนมาก ซึ่งมีราคาแพงเพิ่มขึ้นทุกปีตามภาวะราคาตลาดน้ำมันโลก สารเคมีที่ใช้มีการสะสมในดิน น้ำ และผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค และผลผลิตที่เป็นสินค้าส่งออกมีโอกาสที่จะถูกประเทศคู่ค้าส่งคืนกลับ จึงมีความจําเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ หันมาใช้สารอินทรีย์ทดแทน อย่างน้อยให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (อาหารปลอดสารพิษ) และพัฒนาไปสู่อาหารไร้สารพิษและเกษตรอินทรีย์ในที่สุด จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗ เห็นความสำคัญและส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร จึงจําเป็นที่จะต้องให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ รู้จัก ผลิตและใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี โดยจัดทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ใช้สารอินทรีย์ในการเกษตร และสร้างกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง สามารถใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
เกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่หลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากสามารถประยุกต์ใช้วัสดุรอบ ๆ ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ ตั้งแต่เศษซากพืช ซากสัตว์หรือแม้แต่เศษอาหารจากครัวเรือนก็สามารถนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ราคาสารเคมีทางการเกษตรและปุ๋ยเคมีมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยแล้ว ถ้าสามารถลดต้นทุนการผลิตส่วนนี้ได้มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นผลดีต่อตัวเกษตรกรเอง เพราะนั่นจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงรายได้ที่จะกลับมานั่นเอง
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗ จึงมุ่งส่งเสริมให้นักเรียน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน มุ่งสู่กระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองก็เป็นแนวทางหนึ่งภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์ ในการนี้ไม่เพียงแต่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีทางการเกษตรแล้ว ยังสามารถผลิตเพื่อการจำหน่ายสร้างรายได้เสริม ในธรรมชาติของการเจริญเติบโตของต้นไม้ เมื่อเจริญเติบโตจนถึงระยะสุกแก่ ต้นไม้ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง ที่ใบไม้ที่มีสีเขียวของคลอโรฟีล เป็นโรงงานผลิตแป้งและน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต (CHON) แสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง รวมทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจากดิน โดยมีธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ที่ได้จากปุ๋ย ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ ฮอร์โมน และให้พลังงาน
บทบาทของธาตุอาหารจากปุ๋ย
- ธาตุไนโตรเจน (N) ช่วยบำรุงต้นและใบ ทำให้ใบไม้สีเขียว
- ธาตุฟอสฟอรัส (P) ช่วยในการสร้างราก และเร่งการออกดอก
- ธาตุโพแทสเซียม (K) ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้ง และน้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์แสงที่ใบส่งไปยังผล ลำต้น หรือหัว ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
ในการผลิตพืชผักและข้าวอินทรีย์ มีความจำเป็นที่ต้องใช้ปุ๋ยที่ทำมาจากสารอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษใบไม้ แบบไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรจะสามารถผลิตได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดี มีคุณภาพดีปริมาณมากครั้งละ 1-100 ตัน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ใช้เวลาในการหมักเพียง 60 วัน โดยที่ไม่ส่งกลิ่น และเกิดน้ำเสีย วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชกับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น โดยใช้อัตราส่วนระหว่างใบไม้และมูลสัตว์ คือ อัตราส่วน 3:1 โดยน้ำหนัก


